ตั้งระบบใหม่ ถือว่าการเงินของวงการฟุตบอลนั้นสำคัญ จะต้องพัฒนาใหม่เพื่อสิ่งที่ดีมากยิ่งขึ้น

ตั้งระบบใหม่ ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมากฎควบคุมการเงินภายใต้ชื่อ ไฟแนนเชี่ยล แฟร์ เพลย์ (เอฟเอฟพี) ถูกนำมาใช้กับวงการฟุตบอลยุโรปอย่างกว้างขวาง โดยเป้าหมายของกฎนี้ ก็คือการพยายามจำกัด ขอบเขตการใช้เงินของแต่ละสโมสร

เพื่อที่จะได้ทำให้ทีมเหล่านั้น ไม่ต้องเสี่ยงกับการล้มละลาย เหมือนที่เกิดกับหลายทีมในอดีต รวมถึงทำให้ไม่เกิดการใช้เงินมากเกินไปจนอาจจะทำให้เกิดการเหลื่อมล้ำในการแข่งขันมากจนเกินควร แน่นอน มันมีทั้งคนที่มองว่ากฎดังกล่าวมีผลดีจริงในระดับหนึ่ง

และคนที่มองว่ามันไม่ได้เป็นประโยชน์ ต่อวงการฟุตบอลมากนัก เพราะหลายทีมก็ยังหาช่องทางลัด เลาะช่องว่างของกฎ จนสามารถใช้เงิน ตามที่ต้องการได้ ซึ่งมันก็ทำให้กฎควบคุมการเงิน เป็นหนึ่งในประเด็น ที่ถูกพูดถึงของวงการฟุตบอลตลอดช่วงที่ผ่านมา

กระทั่งล่าสุด สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ก็มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อพวกเขาประกาศตั้งกฎควบคุมการเงินแบบใหม่ขึ้นมา โดยมีชื่อว่า ไฟแนนเชี่ยล ซัสเทนอบิลิตี้ แอนด์ คลับ ไลเซนซิ่ง เรกูเลชั่นส์ (เอฟเอสซีแอลอาร์)

โดยที่เงื่อนไข และมาตรการหลายอย่างมีความต่างจาก เอฟเอฟพีในระดับหนึ่ง ยูฟ่า แจกแจงว่าเอฟเอสซีแอลอาร์ เป็นกฎที่เน้นไปยัง 3 ประเด็นหลักๆ นั่นคือ ความสามารถในการชำระหนี้, เสถียรภาพ และการคุมค่าใช้จ่าย

โดยพวกเขาไม่ได้เป็นคนที่คิดมาตรการต่างๆ เองอยู่ฝ่ายเดียว เพราะว่าสมาคมสโมสรฟุตบอลในทวีปยุโรป (อีซีเอ) ซึ่งเป็นองค์กรที่อุดมไปด้วยบรรดาทีมยักษ์ใหญ่ในวงการฟุตบอลยุโรปก็มีส่วนช่วยออกไอเดียกับกฎนี้เช่นกัน

จนทำให้พวกเขามีความเชื่อว่ามันจะช่วยวงการฟุุตบอลยุโรปได้ดีกว่าเอฟเอฟพี สำหรับประเด็น “การคุมค่าใช้จ่าย” กำหนดว่าภายใต้กฎข้อใหม่นั้น บรรดาสโมสรต่างๆ จะถูกจำกัดการใช้เงินในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ่ายค่าเหนื่อย, ค่าซื้อตัว

และค่าเอเยนต์ ได้รวมกันที่สูงสุดเพียง 70 เปอร์เซ็นต์ของรายได้โดยรวมเท่านั้น ต่างกับกฎ เอฟเอฟพีที่อนุญาตให้แต่ละทีมใช้เงินมากกว่ารายได้ภายในช่วงระยะเวลา 3 ปีได้สูงสุดที่ 5 ล้านยูโร แถมเงื่อนไขของเอฟเอฟพี

ยังมีการอะลุ่มอล่วยให้ขีดจำกัดในจุดนั้นเพิ่มไปเป็น 30 ล้านยูโรได้อีก ถ้าหากมันเป็นเงินที่มาจากเจ้าของสโมสรหรือกลุ่มทุนที่เกี่ยวกับเจ้าของสโมสร ไม่ได้มาจากตัวบัญชีของสโมสร บ้านผลบอล

ตั้งระบบใหม่

สร้างรากฐานการเงินที่มั่นคงยิ่งกว่าเดิม และเข้าถึงรายได้หลัก

ตั้งระบบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น สมัยที่ใช้กฎ เอฟเอฟพีสโมสร A มีรายได้โดยรวมภายในช่วง 3 ปีอยู่ที่ 100 ล้านยูโร นั่นหมายความว่าพวกเขาสามารถใช้เงินได้ 105 ล้านยูโร แต่หากเจ้าของสโมสรหรือกลุ่มทุนที่เป็นเจ้าของทีมออกเงินต่างๆ

ให้ พวกเขาก็จะใช้เงินเพิ่มได้เป็น 130 ล้านยูโร ซึ่งการเข้ามาของ เอฟเอสซีแอลอาร์ จะกำจัดกรณีตัวอย่างนี้ไปเลย หากมันมีผลบังคับใช้อย่างเคร่งครัดจริงๆ การถือกำเนิดของเอฟเอสซีแอลอาร์ มันไม่ได้ส่งผลแย่ถึงแค่การจำกัดการใช้เงินเพียงอย่างเดียว

เพราะหลังจากนี้สโมสรต่างๆ จะสามารถขาดทุนภายในช่วง 3 ปีของผลประกอบการได้รวมกันสูงสุดที่ 60 ล้านยูโรด้วย โดยเดิมทีสมัยที่ใช้กฎเอฟเอฟพี ขีดจำกัดของการขาดทุนอยู่ที่ 30 ล้านยูโรเท่านั้น นอกจากนี้ หากสโมสรไหนที่ถูกประเมินว่ามี “สถานะทางการเงินที่ดี” แล้วล่ะก็

พวกเขาก็จะได้รับไฟเขียวให้ขาดทุนได้อีก 10 ล้านยูโรเช่นกัน ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าอยู่ในประเด็น “เสถียรภาพ” ที่ยูฟ่า บอกเอาไว้ในเบื้องต้น ขณะที่ในประเด็น “ความสามารถในการชำระหนี้” นั้น กำหนดว่าจากนี้ไปแต่ละทีมจะไม่สามารถ “ค้างการจ่ายเงิน” ได้อีกต่อไป

ไม่ว่าจะทั้งในเรื่องภาษี หรือการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานของสโมสร ซึ่งมันจะมีการตรวจสอบตรงจุดนี้ทุกๆ 3 เดือนด้วย ทั้งนี้ หากมีสโมสรใดก็ตามที่ละเมิดกฎของ เอฟเอสซีแอลอาร์ แล้วล่ะก็ พวกเขาก็จะโดนมาตรการลงโทษที่ร้ายแรง

โดยอันเดรีย ทราเวอร์โซ่ หัวหน้าฝ่ายเสถียรภาพด้านการเงิน และการวิจัยของ ยูฟ่าบอกว่าจนถึงตอนนี้บทลงโทษที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้งานแล้วนั้นมีอย่างเช่นการตัดแต้ม และการโดนจำกัดขนาดของขุมกำลัง นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีการ

“ปรับให้ไปเล่นในรายการที่ต่ำกว่า” ซึ่งเปรียบเหมือนการโดนจับตกชั้นด้วย อย่างเช่น ทีม A ได้สิทธิ์เล่น ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก แต่กลับละเมิดกฎจนต้องหล่นไปเล่น ยูฟ่ายูโรปาลีก แทน เป็นต้น เพียงแต่กฎตรงข้อนี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติในขั้นสุดท้ายแต่อย่างใด

ยูฟ่าตั้งใจจะให้กฎ เอฟเอสซีแอลอาร์ มีผลใช้งานแทนเอฟเอฟพี ภายในเดือนมิถุนายนนี้เลย แต่พวกเขาก็เปิดโอกาสให้ทุกทีมทำการปรับตัวเช่นกัน นั่นคือการให้แต่ละทีมใช้เงินในฤดูกาล 2023-24 ได้ไม่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์จากรายได้โดยรวม

ก่อนจะลดเหลือที่ 80 เปอร์เซ็นต์ในซีซั่น 2024-25 แล้วจากนั้นเป็นต้นไปค่อยให้ขอบเขตการใช้เงินอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ตามที่กำหนดเอาไว้ ส่วนหนึ่งที่ทำให้ยูฟ่า ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนกฎควบคุมการเงินนั้น เป็นเพราะมันมีการศึกษา

จนพบว่าในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เหล่าสโมสรชั้นนำในทวีปยุโรปขาดทุนรวมกันเป็นเงินถึง 7 พันล้านปอนด์นั่นเอง โดย อเล็กซานเดอร์ เซเฟริน ประธาน ยูฟ่าบอกว่าที่จริงตลอดช่วงที่ผ่านมา เอฟเอฟพีถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี

ตั้งระบบใหม่ แต่สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทำให้พวกเขาต้องปรับเปลี่ยนกฎต่างๆ ก็ต้องรอดูกันว่าสุดท้ายแล้ว เอฟเอสซีแอลอาร์ จะสามารถทำให้วงการฟุุตบอลยุโรปดีขึ้นตามที่ยูฟ่า คิดเอาไว้ได้จริงๆ หรือไม่ หรือว่าสุดท้ายแล้วมันจะไม่ต่างจากรุ่นพี่อย่าง เอฟเอฟพีมากเท่าไหร่นัก ไม่มีแพ้